ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อ
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
มหาปริญญานิพนธ์ : สำรวย สุขชัย
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยตุลาคม 2554
อ้างอิง: thesis.swu.ac.th
ความสำคัญดังกล่าว
ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยจึงเกิดความสนใจในการน้อมนำเอาหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นพื้นฐานของการดำเนินวิถีชีวิตต่อไป
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำแนกรายทักษะวิทยา
ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการวิจัยในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปลูกฝังการใช้ทรัพยากรได้อย่างเพียงพอตามวิถีชีวิตและความเหมาะสมตามวัยโร่
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นโดยจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนเรื่องร่างกายของฉันธรรมชาติให้สีสันผักและขยะที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของเด็กภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยความพอประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนวัดยางสุทธารามแขวงบ้านช่างหล่อเขตบางกอกน้อยสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งทดสอบได้ตัวยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ทักษะคือ
2.1 ทักษะการจำแนกประเภทหมายถึงความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของออกเป็นรูปร่างสีรสโดยใช้เกณฑ์ความเหมือนและความต่างของวัตถุตามที่ตนเองหรือคนอื่นเป็นผู้กำหนด
2.2 ทักษะการสื่อความหมายหมายถึงความสามารถในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการค้นพบจากการปฏิบัติจริงด้วยการสังเกตสำรวจทตลองหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆโดยนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยการบอกเล่าอธิบายหรือการบันทึก
2.3 ทักษะการลงความเห็นหมายถึงความสามารถในการสรุปผลข้อมูลที่ได้จากการค้นพบหรือได้จากประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการเรียนรู้หรืออธิบายได้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งนั้นอย่างมีเหตุมีผล
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้ง 3 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นสามารถนำมาทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
3. การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็กภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่นการสำรวจสังเกตทดลองสาธิตการเรียนรู้กับบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในชุมชนการฝึกฝนการบันทึกการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กซึ่งมีขั้นตอนดังนี้คือ
3.1 ขั้นนํา เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองเพลงการพูดคุยสนทนาให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่เรียนรู้
3.2 ขั้นสอน เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ทักษะตามที่วางแผนในสาระการเรียนรู้ 4 หน่วยโดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกสถานที่ด้วยการสังเกตทดลองสำรวจทัศนศึกษาการสนทนาซักถามและแสดงความคิดเห็นอภิปรายในเรื่องที่สนใจภายใต้การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยกรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย
3.2.1 ความพอประมาณหมายถึงการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีมารยาทในการพูดการแสดงออกตามความเหมาะสมของสถานการณ์และสามารถนำสิ่งของอุปกรณ์ที่มีภายในบ้านโรงเรียนรวมทั้งจากชุมชนนำกลับมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ร่วมกัน
3.2.2 ความมีเหตุผลหมายถึงการกระตุ้นให้เด็กฝึกฝนทักษะการคิดและนำมาอธิบายด้วยความเป็นเหตุและผลในสิ่งที่ค้นพบจากการลงมือปฏิบัติและการแสวงหาความรู้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองและผู้อื่นมีความรอบคอบในการตัดสินใจเลือกนำมาปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม
3.2.3 การสร้างภูมิคุ้มกันหมายถึงการเตรียมวางแผนในการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงความพร้อมโดยไม่ประมาทและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงและการปฏิบัติตนที่เกี่ยวกับการป้องกันดูแลตนเองไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนหรือเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม
3.2.4 เงื่อนไขความรู้หมายถึงการฝึกฝนตนเองของครูในการแสวงหาความรู้เพื่อให้สามารถนำมาถ่ายทอดในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กตามความเหมาะสมของวัยด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การสำรวจทดลองการบันทึกและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นเพื่อพัฒนาทักษะให้กับเด็กได้ตามวัย
3.2.5 เงื่อนไขคุณธรรมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการรู้จักช่วยเหลือถึงปันให้กับผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยไม่นำสิ่งของที่เป็นของผู้อื่นมาเป็นของตนรู้จักเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมีความอดทนและเพียรพยายามในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายใต้กรอบแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาจัดกิจกรรมในชั้นการสอนจึงเป็นการหลอมรวมทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไขร่วมกับการดำเนินกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งในและนอกสถานที่ด้วยการสำรวจทดลองการตั้งประเด็นคำถามและนำมาพูดคุยสนทนาร่วมกันเพื่อฝึกฝนทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น 3.3 ขั้นสรุปเป็นการสนทนาร่วมกันระหว่างเด็กและครหลังจากที่ทำกิจกรรมจบลงโดยให้เด็กสรปเป็นแนวคิดในเรื่องที่เรียนรู้ด้วยตนเองหรือสรปเป็นกลุ่มร่วมกันทั้งนั้นและครูได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม
คู่มือแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย
หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการขับเคลื่อนการเรียนรู้ภายใต้กรอบแนวคิด 3 หลักการ 2 เงื่อนไขประกอบด้วยความพอประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันการมีเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรมนำมาจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆที่หลากหลายส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและการลงมือทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการวิจัยนี้ได้นำมาส่งเสริม 3 ทักษะคือ การจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นเพื่อนำมาหล่อหลอมให้เด็กมีคุณลักษณะพื้นฐานของการมีเหตุและผลมีความรับผิดชอบรู้จักการแสวงหาความรู้เพื่อนำมาปรับใช้ให้สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตเช่นการนำสิ่งของและอุปกรณ์ภายในบ้านมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่นและปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 4 หน่วยดังต่อไปนี้
หน่วยที่ 1 ร่างกายของฉันประกอบด้วยเรื่องความสำคัญของอวัยวะหนูน้อยพิทักษ์ความสะอาดอาหารป่ารุงกายกายสดใสแข็งแรงเด็กดีวาจาไพเราะและเด็กดีทำได้
หน่วยที่ 2 ธรรมชาติให้สีสันประกอบด้วยเรื่องสีในธรรมชาติพืชสมุนไพรสีของสมุนไพรน้ำสมุนไพรสมุนไพรในอาหารและพอเพียงผ่านก้อนดิน
หน่วยที่ 3 ผักประกอบด้วยเรื่องผักนานาชนิดผักสวนครัวผักโครงการหลวงปลูกถั่วงอกผักแปรรูปและเก็บผักกันเถอะ
หน่วยที่ 4 ขยะประกอบด้วยเรื่องที่มาของขยะประเภทของขยะโทษของขยะขยะแปลงกายผลิตภัณฑ์จากขยะและขยะสร้างค่า
การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหมายถึงพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ทักษะคือ
1.1 ทักษะการจำแนกประเภทหมายถึงความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่ตามขนาดรูปร่างสีรสโดยใช้เกณฑ์ความเหมือนและความต่างของวัตถุตามที่ตนเองหรือคนอื่นเป็นผู้กำหนด
1.2 ทักษะการสื่อความหมายหมายถึงความสามารถในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการค้นพบจากการปฏิบัติจริงด้วยการสังเกตสำรวจทดลองหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆโดยนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยการบอกเล่าอธิบายหรือการบันทึก
1.3 ทักษะการลงความเห็นหมายถึงความสามารถในการสรุปผลข้อมูลที่ได้จากการค้นพบหรือได้จากประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการเรียนรู้หรืออธิบายได้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งนั้นอย่างมีเหตุผล
2. การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึงการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็กภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่นการสำรวจสังเกตทดลองสาธิตการเรียนรู้กับบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในชุมชนการฝึกฝนการบันทึกการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กซึ่งมีขั้นตอนดังนี้คือ
2.1 ขั้นนำเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองเพลงการพูดคุยสนทนาให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่เรียนรู้
2.2 ขั้นสอน เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ทักษะตามที่วางแผนในสาระการเรียนรู้ 4 หน่วยโดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกสถานที่ด้วยการสังเกตทดลองสำรวจทัศนศึกษาการสนทนาชักถามและแสดงความคิดเห็นอภิปรายในเรื่องที่สนใจภายใต้การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยกรอบ แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย
2.2.1 ความพอประมาณหมายถึงการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีมารยาทในการพูดการแสดงออกตามความเหมาะสมของสถานการณ์และสามารถนำสิ่งของอุปกรณ์ที่มีภายในบ้านโรงเรียนรวมทั้งจากชุมชนนำกลับมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ร่วมกัน
2.2.2 ความมีเหตุผลหมายถึงการกระตุ้นให้เด็กฝึกฝนทักษะการคิดและนำมาอธิบายด้วยความเป็นเหตุและผลในสิ่งที่ค้นพบจากการลงมือปฏิบัติและการแสวงหาความรู้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองและผู้อื่นมีความรอบคอบในการตัดสินใจเลือกนำมาปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม
2.2.3 การสร้างภูมิคุ้มกันหมายถึงการเตรียมวางแผนในการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงความพร้อมโดยไม่ประมาทและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงและการปฏิบัติตนที่เกี่ยวกับการป้องกันดูแลตนเองไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนหรือเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม
2.2.4 เงื่อนไขความรู้หมายถึงการฝึกฝนตนเองของครูในการแสวงหาความรู้เพื่อให้สามารถนำมาถ่ายทอดในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กตามความเหมาะสมของวัยด้วยรูปแบบการจัดกิดเมื่อวาน ได้แก่ การบันทึกและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2.2.5 เงื่อนไขคุณธรรมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการรู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันให้กับผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยไม่นำสิ่งของที่เป็นของผู้อื่นมาเป็นของตนรู้จักเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมีความอดทนและเพียรพยายามในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาจัดกิจกรรมในขั้นการสอนจึงเป็นการหลอมรวมทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไขร่วมกับการดำเนินกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งในและนอกสถานที่ผ่านการสำรวจทดลองการตั้งประเด็นคำถามและนำมาพูดคุยสนทนาร่วมกันเพื่อฝึกฝนทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น
2.3 ขั้นสรุป เป็นการสนทนาร่วมกันระหว่างเด็กและครูหลังจากที่ทำกิจกรรมจบลงโดยให้เด็กสรุปเป็นแนวคิดในเรื่องที่เรียนรู้ด้วยตนเองหรือสรุปเป็นกลุ่มร่วมกันทั้งชั้นและครูได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดประสบการณ์ให้กับเด็กได้เกิดความตระหนักถึงสาระการเรียนรู้ภายใต้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไขที่พัฒนาทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น
หลักในการจัดกิจกรรม
เป็นการวางแผนแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนี้
1.กิจกรรมนี้จัดในช่วงเวลากิจกรรมเสริมประสบการณ์ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจัดสัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่ วันอังคารวันพุธและวันพฤหัสบดี
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัยโดยเน้นให้เด็กเป็นผู้ที่ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลายด้วยการสังเกตทดลองสำรวจทัศนศึกษาการสนทนาซักถามและแสดงความคิดเห็นการอภิปรายในเรื่องที่สนใจในระหว่างการจัดกิจกรรมครูเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือพร้อมทั้งกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในกิจกรรมและดูแลความปลอดภัยของเด็กอย่างใกล้ชิด
3. การปฏิบัติกิจกรรมดำเนินการตามลำดับดังนี้
ขั้นนำ เตรียมเด็กให้พร้อมโดยการปฏิบัติกิจกรรม 3-5 นาทีเช่นการสนทนาจากภาพหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับสาระที่เรียน
ขั้นสอน ครูดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมีวิธีการเรียนที่หลากหลายเพื่อฝึกฝนทักษะการคิดและการค้นหาคำตอบการแสดงออกตามความสามารถพร้อมกับการนำเสนอผลงานของตนเองและเป็นการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ทักษะคือทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายทักษะการลงความเห็น
ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกันสรุปสาระในเรื่องที่เรียนด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ การตอบคำถามและการนำเสนอผลงานตามเนื้อหาที่เรียน
บทบาทเด็ก
การปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเด็กมีดังต่อไปนี้
1. ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครูด้วยการฝึกฝนทักษะการคิดและแสวงหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลายในขณะการจัดกิจกรรม
2. นำเสนอผลงาน
3. ประเมินการเรียนรู้ร่วมกับครู
บทบาทครู
การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้วิจัยดำเนินการปฏิบัติดังนี้
1. ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนลงมือปฏิบัติ
2. จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมให้พร้อมกรณีจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียนครูควรสำรวจและเตรียมสภาพแวดล้อมที่ให้พร้อม
3. เริ่มกิจกรรมตรงเวลาและจบตรงเวลาที่กำหนดในแผนการสอนยกเว้นในกรณีที่เด็กยังมีความสนใจในกิจกรรมก็สามารถยืดหยุ่นเวลาได้
4. เตรียมความพร้อมของเด็กด้วยกิจกรรมที่ครูเลือกเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
5. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ขณะดำเนินกิจกรรมครูควรกระตุ้นให้เด็กคิดและลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองรวมถึงให้แรงเสริมและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างเป็นกันเองหลีกเลี่ยงการกระทำและคำพูดที่ทำให้เด็กคับข้องใจหรืออับอายและตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. สนับสนุนและช่วยเหลือเพื่อให้เด็กค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจในระหว่างดำเนินกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น