วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Record 4 Friday 28 August 2020

 



บันทึกครั้งที่ 4
วันศุกร์ ที่ 28 สิงหาคม 2563 เวลา 08:30-12.30 น.


การทดลอง เชือกไตร่น้ำ

เนื้อหา
         เป็นการนำเสอนการทดลองให้กับเพื่อนๆดูทีละคน การทดลองมีหลากหลายวิธี แต่การทดลองก็จะมีวิธีการขั้นตอนในการทำ
             1.ต้องแนะนำอุปกรณ์สำหรับการทดลองให้กับเด็กๆ เพื่อที่เด็กจะได้รู้จัก
             2.การแนะนำอุปกรณ์ต้องแนะนำที่ละอย่าง ละวางจากซ้ายไปขวาของเด็ก เนื่องจากเป็นการลงที่ถูกต้องเพราะว่า เราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา
            3.เริ่มสาธิตการทดลองให้เด็กดู อาจจะให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำด้วย
            4.ต้องมีตั้งสมมุติฐานให้กับเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กได้รู้จักการสังเกตการเปลี่ยนแปลงไหม
            5.พอทำการทดลองเสร็จจะต้องถามว่า ตรงกับที่เด็กคิดไหมและถ้าตรงหรือไม่ตรง ก็ให้เด็กๆลองคิดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กๆก็จะมีส่วนร่วมในการตอบและคิด
            6.สรุปให้กับเด็กฟังว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และตรงกับสมมุติฐานไหม

    👉การที่เราจะจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กจะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้เก็บเด็กด้วย
            ถ้าเด็กๆนั่งครึ่งวงกลม ครูไม่ควรที่จะอยู่กลางวง ครูควรอยู่บนเด้กเพื่อที่เด็กคนแรกจะได้มองเห็น

การทดลองเชือกไตร่น้ำ

อุปกรณ์
- บีกเกอร์
- เชือก
- แก้ว 2 ใบ 
- น้ำ
- สีผสมอาหาร
- สก็อตเทป

วิธีการทดลองเชือกไตร่น้ำ

1)นำสีผสมอาหารใส่บีกเกอร์และใส่นำลงไป
2)นำแก้วทั้ง 2 ใบเอาเชือกติดในแก้วแล้วติดสก็อตเทป
3)นำน้ำใส่แก้วอีกใบนึง พร้อมยกแก้วขึ้นให้เชือกตึงแล้วค่อย ๆ เทน้ำ น้ำมันจะไตร่เชือกลงมาสู่แก้วอีกใบนึง

สรุป
การที่น้ำไตร่เชือกได้นั้น เป็นเพราะมันเกิดแรงตึงผิว ซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของโมเลกุลของผิวสัมผัส ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ 
- Adhesive Forces (แรงยึดติด) คือแรงดึงดูดของโมเลกุลชนิดที่แตกต่างกัน เช่น เชือก + น้ำ ทำให้การเทน้ำออกมาทำให้น้ำไหลไตรเชือกลงมา แล้วโมเลกุลมันก็เกาะติดกันมา
- Cohesive Forces(แรงเชื่อมแน่น) แปลง่าย ๆ คือแรงดึงดูดของโมเลกุลชนิดเดียวกัน เช่น น้ำ + น้ำ มันเป็นโมเลกุลชนิดเดียวกัน 

          
คำศัพท์
            1.Adhesive Forces    แรงยึดติด
            2. Density                 ความหนาแน่
            3.Cohesive Forces    แรงเชื่อมแน่น
            4. Demonstration      สาธิต
            5. Serface Tension    แรงตึงผิว

ประเมิน
           ประเมินตนเอง ออกไปสาธิตวิธีการทดลองให้เพื่อนดูและตั้งใจดูเพื่อนสาธิตการทดลอง
           ประเมินเพื่อน ตั้งใจอธิบายในสิ่งที่ตนเองกับลังสาธิตการทดลอง
           ประเมินอาจารย์ อธิบายเพิ่มเติม และคอมเม้นให้เพื่อนๆที่ออกไปสาธิต



วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Record 3 Friday 21 August 2020

 


บันทึกครั้งที่3
วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 08:30-12.30 น.


 เพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาไว้ ขั้นดังนี้

                1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) 
แรกเกิด - ปี ขั้นนี้เป็นขั้นของการเรียนรู้จากประสาทสัมผัส ในขั้นนี้พัฒนาการจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาการเรียนรู้ การแก้ปัญหา มีการจัดระเบียบการกระทำ มีการคิดก่อนที่จะทำ การกระทำจะทำอย่างมีจุดมุ่งหมายด้วยความอยากรู้อยากเห็น และเด็กยังสามารถเลียนแบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแบบให้เห็นในขณะนั้นได้ ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการด้านความจำที่เพิ่มมากขึ้นในช่วง 18-24 เดือน

                 2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)    
ขั้นนี้จะอยู่ในช่วง 2-7 ปี ในระยะ 2-4 ปี เด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถเข้าใจได้เพียงมิติเดียว 5-6 ปี เด็กจะย่างเข้าสู่ขั้น Intuitive Thought ระยะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด ที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้กับการคิดอย่างมีเหตุผลตามความจริง 

                  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  
7-11 ปี เด็กจะมีความสามารถคิดเหตุผลและผลที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดอยู่เฉพาะการรับรู้เหมือนขั้นก่อน ๆ ในขั้นนี้เด็กจะสามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) สามารถเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ (Conservation) สามารถจัดกลุ่มหรือประเภทของสิ่งของ (Classification) และสามารถจัดเรียงลำดับของสิ่งต่าง ๆ (Seriation) 

                 4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) 
ตั้งแต่อายุ 11 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถคิดไม่เพียงแต่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินโดยตรงเหมือนระยะก่อน ๆ อีกต่อไป แต่จะสามารถจินตนาการเงื่อนไขของปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยพัฒนาสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็หมายถึงว่า ในระยะนี้เด็กจะมีความสามารถคิดหาเหตุผลเหมือนผู้ใหญ่นั่นเอง 

    นิยามของการเล่น
      
               เล่นคือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำผ่านวัตถุเพื่อลงเลือกเเละตัดสิ้นใจอย่างมีความสุข
การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

การสังเกต/การชักถาม/เป็นวิธีการ

ครูจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงหลักการ 
  • เรื่องที่เด็กสนใจ
  • เรื่องที่เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก
  • สถานการณ์ที่มีผลกระทบกับเด็ก 
  • พัฒนาการของเด็ก
การจัดการสอนให้กับเด็กมี 4 สาระสำคัญ
  •  เกี่ยวกับตัวเด็ก
  •  บุคคลและสถานที่
  •  ธรรมชาติรอบนตัว
  •  สิ่งแวดล้อม

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Concrete        รูปธรรม
2.Method.         วิธีการ
3.Planetarium   ท้องฟ้าจำลอง
4.Group            กลุ่ม
5.Principle.       หลักการ

ประเมิน

ประเมินตนเอง   : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและช่วยตอบคำถามกับเพื่อน ๆ

ประเมินเพื่อน     : ตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์เมื่ออาจารย์ถาม

ระเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับทฤษฎีและพัฒนา ให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย ๆ





วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Record 2 Friday 14 August 2020




บันทึกครั้งที่ 2
วันศุกร์ ที่ 14 สิงหาคม 2563 เวลา 08:30-12.30 น.


                 วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำงานในหัวข้อ วิทยาศาสตร์ เด็ก และ การจัดประสบการณ์ ว่านึกถึงอะไรบ้าง 

เด็ก

  พัฒนาการ  --> เด็กมีการเปลี่ยนแปลง เด็กต้องมีพัฒนาการทั้ง4ด้าน

  การเลี้ยงดู -->เพราะเด็กแต่ละคนต้องการเลี้ยงดูจากผู้ปกครองเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน

  สื่อ            -->ป็นตัวช่วยและเป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านสื่อได้ง่ายมากขึ้น

  การเล่น    --> คือการที่เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมต่างๆผ่านการเล่น

วิทยาศาสตร์ 

  การทดลอง --> ทำให้เราได้หาคำตอบในสิ่งที่ต้องการจะรู้ผ่านการทดลอง

  สิ่งรอบตัว  -->เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเราและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

  การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ --> เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและไม่สามารถควบคุมได้

  ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริง --> ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีคนสร้างขึ้นแต่เกิดขึ้นจริงและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

การจัดประสบการณ์

  แผนการจัดประสบการณ์ --> ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  การเล่น --> คือการที่เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเล่น

  สื่อ --> เป็นตัวช่วยและเป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเิกการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ผ่านสื่อได้ง่ายมากขึ้น




การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

        กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่จัดประสบการณ์โดยให้เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงและผู้ปกครองสามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก วิทยาศาสตร์เน้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกตุ ในสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ฝึกให้เด็กสามารถอธิบายและหาข้อสรุปในการทดลองต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเด็กเอง

คำศัพท์

The media   = สื่อ
The point    = ประเด็น
study          = เรียน
Observe      = สังเกต
Practice       = ปฏิบัติ

ประเมิน

ประเมินตนเอง     - ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างดี
ประเมินเพื่อน      - เพื่อนตั้งใจทำงานกลุ่มช่วยเหลือกัน แบ่งหน้าที่กันทำ
ประเมินอาจารย์   - อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียดทำให้นักศึกษาสามารถคิดตามได้อย่างเห็นภาพ


 
                                                            
            





วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563

RESEARCH


สรุปวิจัย 

 ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อ
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

มหาปริญญานิพนธ์ : สำรวย สุขชัย 

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยตุลาคม 2554 

อ้างอิง: thesis.swu.ac.th

ความสำคัญดังกล่าว 

          ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยจึงเกิดความสนใจในการน้อมนำเอาหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นพื้นฐานของการดำเนินวิถีชีวิตต่อไป

ความมุ่งหมายของการวิจัย 

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำแนกรายทักษะวิทยา

ความสำคัญของการวิจัย

           ผลของการวิจัยในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปลูกฝังการใช้ทรัพยากรได้อย่างเพียงพอตามวิถีชีวิตและความเหมาะสมตามวัยโร่

ขอบเขตของการวิจัย

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นโดยจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนเรื่องร่างกายของฉันธรรมชาติให้สีสันผักและขยะที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของเด็กภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยความพอประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม

นิยามศัพท์เฉพาะ 

1. เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนวัดยางสุทธารามแขวงบ้านช่างหล่อเขตบางกอกน้อยสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 

2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งทดสอบได้ตัวยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ทักษะคือ 

       2.1 ทักษะการจำแนกประเภทหมายถึงความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของออกเป็นรูปร่างสีรสโดยใช้เกณฑ์ความเหมือนและความต่างของวัตถุตามที่ตนเองหรือคนอื่นเป็นผู้กำหนด 

       2.2 ทักษะการสื่อความหมายหมายถึงความสามารถในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการค้นพบจากการปฏิบัติจริงด้วยการสังเกตสำรวจทตลองหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆโดยนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยการบอกเล่าอธิบายหรือการบันทึก 

       2.3 ทักษะการลงความเห็นหมายถึงความสามารถในการสรุปผลข้อมูลที่ได้จากการค้นพบหรือได้จากประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการเรียนรู้หรืออธิบายได้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งนั้นอย่างมีเหตุมีผล

            ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้ง 3 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นสามารถนำมาทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 

3. การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็กภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่นการสำรวจสังเกตทดลองสาธิตการเรียนรู้กับบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในชุมชนการฝึกฝนการบันทึกการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กซึ่งมีขั้นตอนดังนี้คือ 

3.1 ขั้นนํา เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองเพลงการพูดคุยสนทนาให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่เรียนรู้ 

3.2 ขั้นสอน เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ทักษะตามที่วางแผนในสาระการเรียนรู้ 4 หน่วยโดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกสถานที่ด้วยการสังเกตทดลองสำรวจทัศนศึกษาการสนทนาซักถามและแสดงความคิดเห็นอภิปรายในเรื่องที่สนใจภายใต้การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยกรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย

      3.2.1 ความพอประมาณหมายถึงการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีมารยาทในการพูดการแสดงออกตามความเหมาะสมของสถานการณ์และสามารถนำสิ่งของอุปกรณ์ที่มีภายในบ้านโรงเรียนรวมทั้งจากชุมชนนำกลับมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ร่วมกัน 

      3.2.2 ความมีเหตุผลหมายถึงการกระตุ้นให้เด็กฝึกฝนทักษะการคิดและนำมาอธิบายด้วยความเป็นเหตุและผลในสิ่งที่ค้นพบจากการลงมือปฏิบัติและการแสวงหาความรู้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองและผู้อื่นมีความรอบคอบในการตัดสินใจเลือกนำมาปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม 

      3.2.3 การสร้างภูมิคุ้มกันหมายถึงการเตรียมวางแผนในการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงความพร้อมโดยไม่ประมาทและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงและการปฏิบัติตนที่เกี่ยวกับการป้องกันดูแลตนเองไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนหรือเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม 

      3.2.4 เงื่อนไขความรู้หมายถึงการฝึกฝนตนเองของครูในการแสวงหาความรู้เพื่อให้สามารถนำมาถ่ายทอดในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กตามความเหมาะสมของวัยด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การสำรวจทดลองการบันทึกและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นเพื่อพัฒนาทักษะให้กับเด็กได้ตามวัย 

      3.2.5 เงื่อนไขคุณธรรมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการรู้จักช่วยเหลือถึงปันให้กับผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยไม่นำสิ่งของที่เป็นของผู้อื่นมาเป็นของตนรู้จักเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมีความอดทนและเพียรพยายามในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายใต้กรอบแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาจัดกิจกรรมในชั้นการสอนจึงเป็นการหลอมรวมทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไขร่วมกับการดำเนินกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งในและนอกสถานที่ด้วยการสำรวจทดลองการตั้งประเด็นคำถามและนำมาพูดคุยสนทนาร่วมกันเพื่อฝึกฝนทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น 3.3 ขั้นสรุปเป็นการสนทนาร่วมกันระหว่างเด็กและครหลังจากที่ทำกิจกรรมจบลงโดยให้เด็กสรปเป็นแนวคิดในเรื่องที่เรียนรู้ด้วยตนเองหรือสรปเป็นกลุ่มร่วมกันทั้งนั้นและครูได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม

คู่มือแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย

หลักการและเหตุผล

            การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการขับเคลื่อนการเรียนรู้ภายใต้กรอบแนวคิด 3 หลักการ 2 เงื่อนไขประกอบด้วยความพอประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันการมีเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรมนำมาจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆที่หลากหลายส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและการลงมือทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการวิจัยนี้ได้นำมาส่งเสริม 3 ทักษะคือ การจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นเพื่อนำมาหล่อหลอมให้เด็กมีคุณลักษณะพื้นฐานของการมีเหตุและผลมีความรับผิดชอบรู้จักการแสวงหาความรู้เพื่อนำมาปรับใช้ให้สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตเช่นการนำสิ่งของและอุปกรณ์ภายในบ้านมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่นและปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 4 หน่วยดังต่อไปนี้

        หน่วยที่ 1 ร่างกายของฉันประกอบด้วยเรื่องความสำคัญของอวัยวะหนูน้อยพิทักษ์ความสะอาดอาหารป่ารุงกายกายสดใสแข็งแรงเด็กดีวาจาไพเราะและเด็กดีทำได้

         หน่วยที่ 2 ธรรมชาติให้สีสันประกอบด้วยเรื่องสีในธรรมชาติพืชสมุนไพรสีของสมุนไพรน้ำสมุนไพรสมุนไพรในอาหารและพอเพียงผ่านก้อนดิน

         หน่วยที่ 3 ผักประกอบด้วยเรื่องผักนานาชนิดผักสวนครัวผักโครงการหลวงปลูกถั่วงอกผักแปรรูปและเก็บผักกันเถอะ

          หน่วยที่ 4 ขยะประกอบด้วยเรื่องที่มาของขยะประเภทของขยะโทษของขยะขยะแปลงกายผลิตภัณฑ์จากขยะและขยะสร้างค่า

        การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

       1. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหมายถึงพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ทักษะคือ

        1.1 ทักษะการจำแนกประเภทหมายถึงความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่ตามขนาดรูปร่างสีรสโดยใช้เกณฑ์ความเหมือนและความต่างของวัตถุตามที่ตนเองหรือคนอื่นเป็นผู้กำหนด

         1.2 ทักษะการสื่อความหมายหมายถึงความสามารถในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการค้นพบจากการปฏิบัติจริงด้วยการสังเกตสำรวจทดลองหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆโดยนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยการบอกเล่าอธิบายหรือการบันทึก

          1.3 ทักษะการลงความเห็นหมายถึงความสามารถในการสรุปผลข้อมูลที่ได้จากการค้นพบหรือได้จากประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการเรียนรู้หรืออธิบายได้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งนั้นอย่างมีเหตุผล

         2. การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึงการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็กภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่นการสำรวจสังเกตทดลองสาธิตการเรียนรู้กับบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในชุมชนการฝึกฝนการบันทึกการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กซึ่งมีขั้นตอนดังนี้คือ

        2.1 ขั้นนำเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองเพลงการพูดคุยสนทนาให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่เรียนรู้ 

        2.2 ขั้นสอน เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ทักษะตามที่วางแผนในสาระการเรียนรู้ 4 หน่วยโดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกสถานที่ด้วยการสังเกตทดลองสำรวจทัศนศึกษาการสนทนาชักถามและแสดงความคิดเห็นอภิปรายในเรื่องที่สนใจภายใต้การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยกรอบ แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย          

         2.2.1 ความพอประมาณหมายถึงการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีมารยาทในการพูดการแสดงออกตามความเหมาะสมของสถานการณ์และสามารถนำสิ่งของอุปกรณ์ที่มีภายในบ้านโรงเรียนรวมทั้งจากชุมชนนำกลับมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ร่วมกัน

         2.2.2 ความมีเหตุผลหมายถึงการกระตุ้นให้เด็กฝึกฝนทักษะการคิดและนำมาอธิบายด้วยความเป็นเหตุและผลในสิ่งที่ค้นพบจากการลงมือปฏิบัติและการแสวงหาความรู้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองและผู้อื่นมีความรอบคอบในการตัดสินใจเลือกนำมาปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม 

         2.2.3 การสร้างภูมิคุ้มกันหมายถึงการเตรียมวางแผนในการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงความพร้อมโดยไม่ประมาทและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงและการปฏิบัติตนที่เกี่ยวกับการป้องกันดูแลตนเองไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนหรือเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม

         2.2.4 เงื่อนไขความรู้หมายถึงการฝึกฝนตนเองของครูในการแสวงหาความรู้เพื่อให้สามารถนำมาถ่ายทอดในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กตามความเหมาะสมของวัยด้วยรูปแบบการจัดกิดเมื่อวาน ได้แก่ การบันทึกและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

         2.2.5 เงื่อนไขคุณธรรมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการรู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันให้กับผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยไม่นำสิ่งของที่เป็นของผู้อื่นมาเป็นของตนรู้จักเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมีความอดทนและเพียรพยายามในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

          ภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาจัดกิจกรรมในขั้นการสอนจึงเป็นการหลอมรวมทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไขร่วมกับการดำเนินกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งในและนอกสถานที่ผ่านการสำรวจทดลองการตั้งประเด็นคำถามและนำมาพูดคุยสนทนาร่วมกันเพื่อฝึกฝนทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น 

         2.3 ขั้นสรุป เป็นการสนทนาร่วมกันระหว่างเด็กและครูหลังจากที่ทำกิจกรรมจบลงโดยให้เด็กสรุปเป็นแนวคิดในเรื่องที่เรียนรู้ด้วยตนเองหรือสรุปเป็นกลุ่มร่วมกันทั้งชั้นและครูได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดประสบการณ์ให้กับเด็กได้เกิดความตระหนักถึงสาระการเรียนรู้ภายใต้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไขที่พัฒนาทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น 

หลักในการจัดกิจกรรม

          เป็นการวางแผนแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนี้

        1.กิจกรรมนี้จัดในช่วงเวลากิจกรรมเสริมประสบการณ์ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจัดสัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่ วันอังคารวันพุธและวันพฤหัสบดี 

        2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัยโดยเน้นให้เด็กเป็นผู้ที่ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลายด้วยการสังเกตทดลองสำรวจทัศนศึกษาการสนทนาซักถามและแสดงความคิดเห็นการอภิปรายในเรื่องที่สนใจในระหว่างการจัดกิจกรรมครูเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือพร้อมทั้งกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในกิจกรรมและดูแลความปลอดภัยของเด็กอย่างใกล้ชิด

         3. การปฏิบัติกิจกรรมดำเนินการตามลำดับดังนี้

         ขั้นนำ เตรียมเด็กให้พร้อมโดยการปฏิบัติกิจกรรม 3-5 นาทีเช่นการสนทนาจากภาพหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับสาระที่เรียน

         ขั้นสอน ครูดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมีวิธีการเรียนที่หลากหลายเพื่อฝึกฝนทักษะการคิดและการค้นหาคำตอบการแสดงออกตามความสามารถพร้อมกับการนำเสนอผลงานของตนเองและเป็นการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ทักษะคือทักษะการจำแนกประเภททักษะการสื่อความหมายทักษะการลงความเห็น

          ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกันสรุปสาระในเรื่องที่เรียนด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ การตอบคำถามและการนำเสนอผลงานตามเนื้อหาที่เรียน

         บทบาทเด็ก

การปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเด็กมีดังต่อไปนี้ 

1. ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครูด้วยการฝึกฝนทักษะการคิดและแสวงหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลายในขณะการจัดกิจกรรม

2. นำเสนอผลงาน 

3. ประเมินการเรียนรู้ร่วมกับครู 

        บทบาทครู

การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้วิจัยดำเนินการปฏิบัติดังนี้ 

1. ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนลงมือปฏิบัติ 

2. จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมให้พร้อมกรณีจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียนครูควรสำรวจและเตรียมสภาพแวดล้อมที่ให้พร้อม 

3. เริ่มกิจกรรมตรงเวลาและจบตรงเวลาที่กำหนดในแผนการสอนยกเว้นในกรณีที่เด็กยังมีความสนใจในกิจกรรมก็สามารถยืดหยุ่นเวลาได้ 

4. เตรียมความพร้อมของเด็กด้วยกิจกรรมที่ครูเลือกเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน 

5. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ขณะดำเนินกิจกรรมครูควรกระตุ้นให้เด็กคิดและลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองรวมถึงให้แรงเสริมและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างเป็นกันเองหลีกเลี่ยงการกระทำและคำพูดที่ทำให้เด็กคับข้องใจหรืออับอายและตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 

6. สนับสนุนและช่วยเหลือเพื่อให้เด็กค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจในระหว่างดำเนินกิจกรรม

ตัวอย่าง



Teaching Examples

 

สรุปตัวอย่างการสอน
วีดิทัศน์ สาระความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 
สอนโดย:คุณครูปราณี ศรีรักแก้ว 
โรงเรียนอนุบาลเมืองอทัยธานี จ.อุทัยธานี
เทคนิคการสอนปฐมวัย เรื่องดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
เวลา 15 นาที ปีที่ผลิต 2556 
ผลิตโดยสาขา เทคโนโลยีทางการศึกษาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ
อ้างอิง : https://youtu.be/ORP1E0RP3II
      การจัดห้องเรียนโดยเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กมีกระบวนการพื้นฐานการสังเกต คิดวิเคราะห์ เด็กจะรู้กระบวนการนี้ได้อย่างไร ก็คือ สร้างความสนใจให้แก่เด็ก ทำยังไงให้เด็กสนใจ เริ่มจาก วันนี้ครูจะพาเด็กเดินดูหรือสำรวจสิ่งที่นำมาลอยน้ำได้หรือจำแนกสิ่งของ ก็ไปเก็บขึ้นมา ปรากฎว่าเด็กทดลองดู แล้วมีเด็กคนนึงในห้อง หยิบดินน้ำมันขึ้นมา แล้วเขาก็เอาไปทดลองในน้ำ ผลปรากฏว่าดินน้ำมันของเขาจมน้ำ เด็กก็เลยบอกครูว่า จะต้องทำยังไงให้ดอนน้ำมันลอยน้ำได้ ครูก็บอก เด็กๆอยากรู้ใช่ไหมคะ งั้นจะต้องมาเรียนรู้โดยการทดลองดู ขั้นที่ 1 สืบเสาะหาความรู้จากกระบวนการนี้ โดยการปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยมผืนผ้า,สี่เหลี่ยมจัตุรัส,วงกลม และสามเหลี่ยม ในจำนวนก็ต้องมีคณิตศาสตร์ ครูจะต้องเตรียมไว้ และออกแบบการสังเกตสี และเด็กจะสำรวจอย่างไรในระบบการคิดและออกแบบแผนภูมิทำเป็นตาราง ทำสีที่เป็นรูปร่างต่างๆ และขั้นตอนสรุป จากการที่เด็กได้สำรวจว่าดอนน้ำมันรูปสี่เหลี่ยมมีกี่ก้อน และรูปร่างต่างๆ มีกี่ก้อน และเด็กก็จะได้สังเกตทั้งสี รูปร่าง รูปทรง ลักษณะ และจำนวนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์*สุดท้าย การที่ดินน้ำมันจะลอยได้นั้น เด็กก็ได้เรียนรู้ว่าต้องปั้นเป็นถ้วย แล้วเอาไปวางใส่น้ำ ดินน้ำมันก็จะลอยได้




วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ARTICLES


สรุปบทความ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก”
กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว

โดย: ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก
โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
อ้างอิง: Newswit.com
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป วันพฤหีสบดี ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2554


            พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ

            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

            นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

            นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

            “การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง

             เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป

             เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง

             นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาส เด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้

             นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา “เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม”

              นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวัง ก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่ อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น” ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่า จะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด




Record 1 Friday 7 August 2020

 

บันทึกครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 7 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน
              วันนี้ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ได้ปฐมนิเทศเกี่ยวกับรายวิชาที่จะเรียน ชื่อวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เบื้องต้นอาจารย์ได้บอกคร่าว ๆ ว่าจะเรียนเรื่องไหน เรียนไปในทิศทางใด จัดประสบการณ์สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย โดยรายวิชานี้จะมีการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย จากนั้นก็พูดคุยข้อตกลงในการเรียนร่วมกัน การแต่งตัวให้ถูกระเบียบ เเละชี้เเจงเรื่องเเฟ้มสะสมผลงาน Blogger พร้อมชีเเจงเนื้อหาที่จะต้องมีใน Bloggre

                 โดยใน blogger จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

                        1 .  วิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

                        2 .  ตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 

                        3 .  บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

                        4 .  รูปและข้อมูลผู้เรียน รวมถึง ข้อมูลอาจาย์ผู้สอน

                        5 .  ปฏิทินและนาฬิกา

                        6 .  ชื่อบล็อกและคำธิบายบล็อก

                        7 .  เชื่อมโยง หน่วยงานที่สนับสนุน สสวท. แนวการสอน งานวิจัย บทความ สื่อ (เพลง นิทาน  เกม)

                       8 .  ชื่อบล็อกและคำอธิบายบล็อก 

                       9 .  การบันทึกอนุทินหลังเลิกเรียน 


                จากนั้น อาจารย์ได้ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในห้องเรียนโดยการ ตั้งคำถาม ถ้านึกถึงสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กจะนึกถึงสื่ออะไรบ้าง ตอบคนละ 1 สื่อที่นึกได้ พร้อมอธิบาย เช่น เกมการศึกษาตัวต่อ  สื่อเกี่ยวกับโลก เป็นต้นหลังจากนั้น อาจารย์เเจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เเละให้หัวข้อรายวิชานี้ ถ้านึกถึงวิทยาศาสตร์จะนึกถึงการเรียนในเรื่องใด ทำเป็นรูปแบบผังความคิดหรือมายแม็ปปิ้ง



       จากนั้นให้นักศึกษา Add QR Code และให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ใส่ชื่อสามาชิกลง พร้อมตั้งชื่อกลุ่ม และโพสต์งานลงกลุ่มตัวเอง เพื่อเป็นการส่งงาน

      


คำศัพท์ 
1. Science                   วิทยาศาสตร์
2. The experiment       การทดลอง
3. Nature                     ธรรมชาติ
4. Departments.         หน่วยงาน
5. Cycle                       วัฏจักร

การประเมิน

               - ประเมินตนเอง     ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม จดบันทึกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละคาบเรียน
               - ประเมินเพื่อน      เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย และให้ความร่วมมือตอบคำถาม
               - ประเมินอาจารย์   อาจารย์เปิดโอกาสใหันักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และอธิบายงานที่ต้องทำในแต่ละคาบเรียนให้นักศึกษาเข้าใจตรงกัน